เครื่องมือทางนิวเคลียร์

เครื่องฉายรังสีแกมมา

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีเครื่องฉายรังสีแกมมาจํานวน 2 เครื่องด้วยกันซึ่งทําหน้าที่แตกต่างกันไปได้แก่


เครื่องฉายรังสีแกมมาซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของศูนย์ฉายรังสี

ตั้งอยู่ในเทคโนธานีคลองห้าปทุมธานีโดยศูนย์ฉายรังสีให้บริการฉายรังสีด้วยรังสีแกมมาให้แก่บุคคลทั่วไปโดยผลิตภัณฑ์ที่นํามาฉายรังสีนั้นมีหลากหลายชนิดเช่นอาหารสัตว์สมุนไพรผลไม้ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหลอดยาจุกยางฉีดยาเป็นต้น

 

  • โรงงานฉายรังสีแกมมามีการออกแบบที่ได้มาตรฐานปัจจุบันศูนย์ฉายรังสีใช้เครื่องฉายรังสีแบบ Carrier type รุ่น JS 8900 IR-155ออกแบบโดยบริษัท Nordion International Inc.จากประเทศแคนาดา
  • ตู้ที่ใช้บรรจุสินเค้าเพื่อนําเข้าไปฉายรังสีนั้นมีแบ่งเป็น 2 ส่วน (compartment) คือบนและล่างโดยแต่ละ compartmentมีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตรยาว 120 เซนติเมตรสูง 120 เซนติเมตร

 


ศูนย์ฉายรังสี  (แผนที่)หากท่านสนใจขอใช้บริการฉายรังสีสามารถขอข้อมูลติดต่อเพิ่มเติมได้ที่

37 หมู่ 3 เทคโนธานีต.คลองห้าอ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ (02)-4019889

  • ฝ่ายบริหาร                                          ต่อ 6101 - 6105
  • ฝ่ายพัฒนาเทคนิคและผลิตภัณฑ์       ต่อ 6300 - 6302
  • ฝ่ายฉายรังสี (โรงงานฉายรังสี)         ต่อ 6200 - 6202
  • ฝ่ายควบคุมคุณภาพ                ต่อ 6203 - 6204

โทรสาร. (02) 5771945 , (02) 5774809

email : tic.int@hotmail.com

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เครื่องฉายรังสีแกมมาซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของศูนย์ฉายรังสีอัญมณี


 ตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อําเภอองครักษ์

ตัวเครื่องฉายรังสีแกมมาใช้ต้นกําเนิดรังสีโคบอลต์-60 จํานวนทั้งหมด 6 แท่งซึ่งแต่ละแท่งมีความแรงประมาณ 12,000 คูรีความแรงรังสีรวมทั้งหมด 70,500 คูรีปัจจจุบันความแรงรังสีลดลงเหลือ 49,374 คูรีผลิตโดยบริษัท Paul Stephens Consultancy Ltd.ประเทศอังกฤษ

 


ปริมาณรังสีที่วัดได้ปัจจุบันที่ตําแหน่ง Center ได้เท่ากับ 12 KGy/hr ตําแหน่งอื่นๆลดลงตามระยะทางที่ห่างจากต้นกําเนิดรังสีแท่งของต้นกําเนิดรังสีจัดเก็บแบบแห้งในที่กําบังรังสีซึ่งทําจากตะกั่วหนาขณะที่ไม่ได้ใช้งานในขณะใช้งานแท่งต้นกําเนิดรังสีจะถูกดันด้วยลมออกจากตัวกําบังรังสีเพื่อให้รังสีแผ่ออกมา

  

ประโยชน์ของเครื่องฉายรังสีแกมมาโดยไอโซโทปรังสีโคบอลต์-60 สามารถนํามาใช้ในการฉายรังสีอัญมณีเพื่อเปลี่ยนสีหรือใช้ในการปรับปรุงวัสดุอื่นๆสําหรับงานบริการหรืองานวิจัยโดยภายในห้องฉายรังสีแกมมาสามารถฉายรังสีได้ทุกบริเวณในกรณีฉายรังสีอัญมณีหรือฉายงานวิจัยที่ต้องการปริมาณรังสีสูงและใช้เวลาฉายไม่นานจะฉายบริเวณใกล้ต้นกําเนิดรังสีโคบอลต์-60 (บริเวณ Center) และสามารถหมุนได้ขณะฉายรังสีเพื่อให้ได้รับปริมาณความสม่ําเสมอรังสีแกรมมาจากไอโซโทปโคบอลต์-60 เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าการฉายอัญมณีด้วยรังสีแกรมมาไม่ก่อให้เกิดไอโซโทปรังสีใดๆภายในเนื้ออัญมณี