งานบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
ศูนย์ฉายรังสีสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติมีห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและเครื่องมือในการให้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดและการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคชนิดอื่นๆแก่ผู้ที่มาขอใช้บริการฉายรังสีและสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ (ที่ไม่ต้องใช้บริการการฉายรังสี) โดยใช้ระยะดำเนินการทราบผลและออกรายงานผลการวิเคราะห์ประมาณ 20 วันทำการ (อาจจะได้ผลเร็วกว่า 20 วันทำการหากผลการตรวจวิเคราะห์เสร็จก่อน)
ประเภทของการให้บริการ
1.การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนฉายรังสีเพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมและการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณเชื้อจุลินทรีย์มีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสินค้าชนิดนั้นๆ
2.การตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคที่สำคัญๆในผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพรเครื่องสำอางเช่นStaphylococcus aureus, Escherichia coli, Clostridium spp., Pseudomonas aeruginosa, Bacillus cereus. Salmonella spp.เป็นต้น
3.การตรวจวิเคราะห์หาPresumptive taint producing Alicyclobacillus โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ IFU Method on the Detection of taint producing Alicyclobacillus in Fruit Juices. (IFU Method No.12)
4.การจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®2 Systems ของบริษัท bioMérieux, Inc.โดยรายงานผลเป็นชื่อวิทยาศาสตร์และเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นที่จะเป็นเชื้อชนิดนั้น
5.การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาอื่นๆตามวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ลูกค้าต้องการ
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองISO/IEC17025:2017
ปัจจุบันศูนย์ฉายรังสีได้รับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาตามระบบมาตรฐานISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุขใบรับรองเลขที่ 1234/56 โดยขอบข่ายที่ได้รับการรับรองมีรายละเอียดดังนี้
1. เนื้อสัตว์เเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
2. สัตว์ปีกเเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
3. สัตว์น้ำเเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
4. ผักเเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
5. ผลไม้เเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
6. ธัญพืชเเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)
7. ไข่เเละผลิตภัณฑ์
8. สาหร่ายเเละผลิตภัณฑ์
9. เครื่องเทศ สมุนไพร เเละเครื่องปรุง
10. แป้งและผลิตภัณฑ์
11. ช็อกโกเเล็ต
12. ขนมอบ
13. น้ำสลัดเเละมายองเนส
1.การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี
เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาขอรับบริการฉายรังสีเพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์นั้นมักจะไม่ทราบว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์มากน้อยเท่าใดและต้องใช้ปริมาณรังสีมากน้อยขนาดไหนที่จะทำให้ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ลงได้ตามที่ต้องการหรือตามที่มาตรฐานสินค้าชนิดนั้นๆกำหนดศูนย์ฉายรังสีจึงอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าโดยการเปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนฉายรังสีเพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมและการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำกว่าเกณฑ์ของมาตรฐานของสินค้าชนิดนั้นๆ
ข้อดีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีกับห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาของศูนย์ฉายรังสีมีดังต่อไปนี้
ข้อจำกัด
เนื่องจากมีกระบวนการขั้นตอนมากและเป็นการตรวจวิเคราะห์ทางด้านจุลชีววิทยาซึ่งต้องการระยะเวลาเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต จึงทำให้ใช้ระยะเวลาพอสมควรในการดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์อย่างน้อยที่สุดคือประมาณ 20 วันและสูงสุดคือ 39 วันนับจากวันที่ส่งตัวอย่างให้แก่ศูนย์ฉายรังสีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่เจอหรือประมาณ 20 วันทำการนับจากวันที่สินค้าได้ฉายรังสีโดยแต่ละขั้นตอนมีระยะเวลาและข้อจำกัดตามตารางด้านล่าง
ขั้นตอน ที่ | รายละเอียด | ระยะเวลาดำเนินการ | ข้อจำกัด |
1. | ตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในตัวอย่างก่อนฉายรังสี | 1-5 วัน | ขึ้นกับวิธีการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้บางวิธีใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์นาน |
ตรวจหาปริมาณยีสต์และราในตัวอย่างก่อนฉายรังสี | 5-7 วัน | ||
2. | กำหนดวันฉายรังสี | 1-14 วัน | ขึ้นกับปริมาณรังสีที่จะใช้ ตารางการฉายณเวลานั้นๆ หรือสินค้ามีปริมาณน้อยจะต้องฉายรรังสีรอบSMEs ซึ่งจะมีเฉพาะสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน |
3. | การทิ้งระยะเวลาก่อนตรวจตัวอย่างหลังฉายรังสี(โดยเฉพาะสินค้าประเภทสมุนไพรเครื่องสำอาง) | 3 วัน | เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ได้ลดจำนวนลงไปในระดับที่คงที่แล้วจึงค่อยทำการตรวจวิเคราะห์ |
4. | ตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในตัวอย่างหลังฉายรังสี | 1-5 วัน | ขึ้นกับวิธีการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้บางวิธีใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์นาน |
5. | ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในตัวอย่างหลังฉายรังสี | 10 วัน (เพิ่มเติมจากข้อ 4.) | หากลูกค้าต้องการตรวจเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์จะเพิ่มขึ้นไปด้วย |
ดังนั้นผู้ประกอบการ/ลูกค้าจะต้องเผื่อเวลาในการดำเนินการให้แก่ศูนย์ฉายรังสีเพื่อจะได้ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพอย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ศูนย์ฉายรังสีจะมีการติอต่อแจ้งลูกค้าได้รับทราบว่าได้ดำเนินการถึงขั้นตอนใดเป็นระยะๆจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฉายรังสี
2.ขั้นตอนการขอรับบริการตรวจวิเคราะห์
1.กรอกแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา(FM-IC-54)
ข้อควรระวัง
1.1 หากท่านต้องการขอใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาเป็นภาษาอังกฤษชื่อที่อยู่และชื่อตัวอย่างลักษณะตัวอย่างจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษมาด้วย
1.2 ลูกค้าควรตรวจสอบตัวสะกดของชื่อที่อยู่ชื่อตัวอย่างและลักษณะตัวอย่างให้ถูกต้องเนื่องจากศูนย์ฉายรังสีจะออกใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาตามที่ลูกค้าแจ้งมา
1.3 ส่งเอกสารแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54 ) ให้ศูนย์ฉายรังสีโดยสามารถส่งได้หลายวิธีเช่นทาง FAX ที่เบอร์ 02-5771945, E-mail:tic.tint@hotmail.comหรือมาส่งใบคำขอรับบริการด้วยตนเอง
( ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54) คลิ๊กที่นี่)
2.ศูนย์ฉายรังสีออกใบแจ้งหนี้, ใบยืนยันการให้บริการเพื่อแจ้งวันส่งตัวอย่างและวันที่ได้รับผลการวิเคราะห์
ส่งให้ลูกค้าโดยเมื่อลูกค้าได้รับแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าบริการแล้วส่งหลักฐานกลับมาหรือนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงในวันส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์
3.จัดส่งตัวอย่างให้แก่ศูนย์ฉายรังสี 37 หมู่ 3 เทคโนธานีต.คลองห้าอ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี 12120
(วิธีการเตรียมและส่งตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาคลิ๊กที่นี่)
4.ระยะเวลาการให้บริการ
4.1 กรณีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี
ทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 20 วันทำการนับแต่วันที่สินค้าได้รับการฉายรังสี
4.2 กรณีสินค้าทั่วไปอื่นๆ
ทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 20 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับตัวอย่างและนับจากวันที่ชำระค่าบริการแล้ว (เว้นแต่จะตกลงกับลูกค้าเฉพาะราย)
(Q/A ทำไมถึงต้องใช้เวลาตรวจถึง 20 วันทำการคลิ๊กที่นี่)
(Q/A ทำไมถึงต้องนับแต่วันที่สินค้าได้รับการฉายรังสีหรือนับแต่วันที่ได้รับตัวอย่างและนับจากวันที่ชำระค่าบริการแล้วคลิ๊กที่นี่)
3.วิธีการจัดส่งตัวอย่างที่ถูกต้อง
ลูกค้าจัดส่งตัวอย่างตามวันที่ทางศูนย์ฉายรังสีแจ้งโดยลูกค้าจะต้อง
1.ลูกค้าจะเป็นผู้สุ่มตัวอย่างเอง
2.น้ำหนักของสินค้าตัวอย่าง
2.1 กรณีที่ตัวอย่างเป็น อาหาร ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 400 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น
2.2 กรณีที่ตัวอย่างเป็น เครื่องสำอาง ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 50 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น
2.3 กรณีที่ตัวอย่างเป็น สมุนไพร ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 200 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น
2.4 กรณีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 150 กรัมต่อ 1 ตัวอย่าง
2.5 กรณีที่ไม่สามารถจัดส่งได้ตามที่ระบุในข้อ 2.1-2.4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่ายตรวจวิเคราะห์/ผู้จัดการวิชาการ
3.ตัวอย่างจะต้องใส่ภาชนะหรือถุงปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนภายหลัง
4.ตัวอย่างจะต้องติดฉลากชัดเจนมีชื่อผลิตภัณฑ์ล็อตการผลิตตรงตามที่ระบุมาในแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54)
5.ควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวอย่างเช่น
5.1 กรณีสินค้าที่ต้องเก็บในสภาวะแช่เย็น(Chill) ควรบรรจุในกล่องที่สามารถเก็บความเย็นได้โดยมีน้ำแข็งหรือ ice pack ในการช่วยรักษาอุณหภูมิของตัวอย่าง
5.2 กรณีสินค้าที่ต้องเก็บในสภาวะแช่แข็ง (Frozen) ควรบรรจุในกล่องที่สามารถเก็บความเย็นได้โดยลักษณะของตัวอย่างที่จัดส่งจะต้องอยู่ในสภาพที่เป็นของแข็งไม่ละลาย
6.กรณีการขอรับบริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสีจะถือว่าคือ2 ตัวอย่างจะต้องทำการสุ่มตัวอย่างใส่ถุงมา 2 ถุงคือถุงที่ 1 ติดฉลากชื่อผลิตภัณฑ์และระบุว่าเป็น “ก่อนฉายรังสี” และถุงที่ 2 ติดฉลากชื่อผลิตภัณฑ์และระบุว่าเป็น “หลังฉายรังสี”
7.หากลูกค้ามีความต้องการส่งตัวอย่างที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของปฏิบัติการให้หัวหน้าฝ่ายตรวจวิเคราะห์/ผู้จัดการวิชาการเป็นผู้พิจารณาโดยต้องคำนึงถึงว่าไม่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของผลการตรวจวิเคราะห์และทางห้องปฏิบัติการฯมีนโยบายจะไม่คืนตัวอย่างให้แก่ลูกค้า
8.ทางห้องปฏิบัติการฯมีนโยบายจะไม่คืนตัวอย่างให้แก่ลูกค้า
(Q/A ทำไมการสุ่มตัวอย่างและการจัดเตรียมตัวอย่างจึงมีความสำคัญ คลิ๊กที่นี่)
4.วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยานำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์
1. วัตถุดิบสมุนไพร | ||
รายการตรวจวิเคราะห์ | วิธีการตรวจวิเคราะห์ | ผลการตรวจวิเคราะห์ |
Total Plate Count* | FDA BAM, Chapter 3 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Yeast & Mold Count | USP38:2015 Chapter 62 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Coliform & Escherichia coli Count | AOAC 2005.03 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Enterobacteria | In house method by Simplate® Enterobacteriaceae | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Staphylococcus aureus | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Pseudomonas aeruginosa | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Salmonella spp. | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร |
Clostridium spp. | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร |
Bile tolerant gram negative bacteria | USP Chapter 62 | Probable Number of Bacteria per g or ml of Product |
Total Anaerobic Plate Count | Compendium of method Chapter 23 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
2. ยาสมุนไพร เช่น ยาแคปซูล ยาอัดเม็ด ยาทา ยาน้ำ | ||
รายการตรวจวิเคราะห์ | วิธีการตรวจวิเคราะห์ | ผลการตรวจวิเคราะห์ |
Total Plate Count | USP Chapter 61 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Yeast & Mold Count | USP Chapter 62 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Escherichia coli | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Staphylococcus aureus | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Pseudomonas aeruginosa | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Salmonella spp. | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร |
Clostridium spp. | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร |
Bile tolerant gram negative bacteria | USP Chapter 62 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Anaerobic Plate Count | Compendium of method Chapter 23 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
3. เครื่องสำอาง | ||
รายการตรวจวิเคราะห์ | วิธีการตรวจวิเคราะห์ | ผลการตรวจวิเคราะห์ |
Total Plate Count | FDA BAM, Chapter 23 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Yeast & Mold Count | FDA BAM, Chapter 23 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Escherichia coli | ISO21150 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Staphylococcus aureus | ISO22718 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Pseudomonas aeruginosa | ISO22717 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
Clostridium spp. | USP Chapter 62 | พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร |
4. อาหาร | ||
รายการตรวจวิเคราะห์ | วิธีการตรวจวิเคราะห์ | ผลการตรวจวิเคราะห์ |
Total Plate Count | FDA BAM, Chapter 3 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Yeast & Mold Count | FDA BAM, Chapter 18 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Total Coliform & Escherichia coli Count | AOAC 2005.03 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Staphylococcus aureus | FDA BAM, Chapter 12 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
AOAC 2003.11 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร | |
In house method by DMSc F 2006 | พบ/ไม่พบต่อ 0.1 กรัม/มิลลิลิตร | |
Bacillus cereus | FDA BAM, Chapter 14 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Clostridium perfringens | FDA BAM, Chapter 16 | โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร |
Salmonella spp. | FDA BAM, Chapter 5 | พบ/ไม่พบต่อ 25 กรัม/มิลลิลิตร |
5. น้ำผลไม้เข้มข้น | ||
รายการตรวจวิเคราะห์ | วิธีการตรวจวิเคราะห์ | ผลการตรวจวิเคราะห์ |
Presumptive taint producing Alicyclobacillus | IFU Method on the Detection of taint producing Alicyclobacillus in Fruit Juices. (IFU Method No.12) | โคโลนีต่อ 0.1กรัมหรือ โคโลนีต่อ 0.01กรัม |
พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม |
5.การให้บริการจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®2 Systems
เครื่อง Vitek ®2 systemคือเครื่องที่ใช้ในการตรวจยืนยันชนิดของแบคทีเรียโดยใช้หลักการทดสอบทางชีวเคมีซึ่งเครื่องจะอ่านผลจากการ์ดและเทียบกับฐานข้อมูลที่อยู่ในเครื่องว่าผลทางชีวเคมีตรงกับแบคทีเรียชนิดใดโดยจำแนกออกมาเป็น Genus species และยืนยันผลเป็นเปอร์เซ็นต์ซึ่งจะต้องมีการเลือกใช้การ์ดตามกลุ่มของแบคทีเรียที่ต้องการยืนยันโดยมีการ์ดทั้งหมด 4 ชนิดคือ
1. GN Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์แกรมลบ (Gram negative) เช่นEscherichia coli, Escherichia vulneris, Klebsiella oxytoca, Salmonella group, Pseudomonas aeruginosa, Vibrio cholera เป็นต้น
2. GP Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์แกรมบวก (Gram positive) เช่นListeria monocytogenes, Enterococcus spp., Staphylococcus aureus, Streptococcus spp.เป็นต้น
3. BCL Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Bacilli เช่นGeobacillus stearothermophilus, Brevibacillus choshinensis, Bacillus subtilis, Bacillus amyloliquefaciens, Bacillus atrophaeus เป็นต้น
4. ANC Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Anaerobic เช่นClostridiumperfringens, Clostridium sporogenes, Lactobacillus acidophilus เป็นต้น
ตารางการรายงานผลเป็นเปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่น(% Probability)
ระดับความเชื่อมั่น | % ความเชื่อมั่น |
ดีเยี่ยม | 96 to 99 |
ดีมาก | 93 to 95 |
ดี | 89 to 92 |
ไม่ยอมรับ | 85 to 88 |
Low discrimination or slashline | มีเชื้อ2 หรือ 3 ชนิดที่เป็นไปได้จะต้องใช้การทดสอบอื่นเพิ่มเติมเพื่อแยกชนิด |
Non - identified | มีเชื้อ>3 ชนิดที่เป็นไปได้หรือเชื้อที่ทดสอบมีลักษณะที่แตกต่างจากฐานข้อมูลของเครื่องมากจนไม่สามารถแยกชนิดได้ |
ขั้นตอนการจัดส่งตัวอย่างสำหรับตรวจจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®2 Systems
1.ดำเนินการเขี่ยเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการลงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็นชนิดnonselective agar และเลี้ยงให้เจริญในสภาวะที่เหมาะสมจนกระทั่งเชื้อจุลินทรีย์เจริญได้โคโลนีเดี่ยว (Single Colony)
2.ดำเนินการปิดจานเพาะเชื้อด้วย Paraffin film ติดฉลากชื่อตัวอย่างให้ถูกต้องชัดเจนและดำเนินการจัดส่งให้แก่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาณศูนย์ฉายรังสีคลองห้าปทุมธานี
6.นโยบายของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
(เป็นไปตามข้อกำหนดISO/IEC 17025:2017)
1.ห้องปฏิบัติการมีนโยบายไม่ส่งงานต่อให้แก่ห้องปฏิบัติการภายนอก (External provider) ในกรณีที่ห้องปฏิบัติการไม่สามารถดำเนินการตรวจวิเคราะห์เองได้
2. กรณีที่พบว่าตัวอย่างมีปัญหาหรือการเบี่ยงเบนจากสภาพปกติแต่ลูกค้ายืนยันที่จะส่งตัวอย่างดังกล่าวเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจะระบุปัญหาหรือการเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นลงในช่องหมายเหตุของแบบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาฉบับภาษาไทย (FM-IC-61) หรือแบบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาฉบับภาษาอังกฤษ (FM-IC-62) โดยใช้ข้อความ
- “....(ระบุความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น)......ปัญหาและการเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นอาจจะมีผลกระทบต่อผล การวิเคราะห์ได้ซึ่งห้องปฏิบัติการจะไม่รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว”
- “…….(ระบุความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น)...... may be affected the results and is not responsible of the laboratory in this case”
3.นโยบายความเป็นกลาง (คลิ๊กที่นี่)
4.นโยบายคุณภาพ (คลิ๊กที่นี่)
7.รวบรวมเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ
การทราบมาตรฐานหรือเกณฑ์ของสินค้านั้น เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ผลิตควรจะทราบเพื่อที่จะได้ควบคุมการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้ตามที่กฎหมายหรือลูกค้ากำหนด ทั้งนี้ศูนย์ฉายรังสีได้รวบรวมเกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาไว้ให้เพื่อให้ท่านใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานสินค้าของท่านทั้งนี้ท่านสามารถสืบค้นมาตรฐานของสินค้าต่างๆเช่นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้เองผ่านทางเวบไซต์www.google.comโดยอาจจะใช้คีย์เวิร์ดเช่นมผช.ปลาร้าหรือมอก.เครื่องสำอางเป็นต้น
อาหารหมักดอง(เช่นปูเค็มปลาร้าเป็นต้น)
8.ช่องทางการร้องเรียนบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
เมื่อท่านพบปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาและต้องการที่จะร้องเรียนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงในการให้บริการท่านสามารถดำเนินการร้องเรียนได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.กรอกแบบฟอร์มข้อร้องเรียนใบรับข้อร้องเรียนFM-IC-21
2.ส่งเอกสารมายังศูนย์ฉายรังสีโดยสามารถส่งได้หลายวิธีเช่นทางFAX ที่เบอร์ 02-5771945 , E-mail : tic.tint@hotmail.com , tic@tint.or.thหรือมาส่งแบบฟอร์มข้อร้องเรียนด้วยตนเอง
3.ศูนย์ฉายรังสีจะแจ้งท่านกลับเพื่อแจ้งความคืบหน้าของข้อร้องเรียนของท่านเป็นระยะๆ
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยายินดีน้อมรับข้อคิดเห็นจากท่านเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการให้บริการให้ดีมากยิ่งขึ้นไป
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่บริหารงานศูนย์ฉายรังสีโทร. 02-401-9889 ต่อ 6101 , 6103
9.ถาม-ตอบ (Q&A)
Q1 : สาเหตุใดที่การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาจึงต้องทราบผลหลังจากวันที่ฉายรังสีหรือวันที่ส่งตัวอย่างไปแล้วประมาณ 20 วันทำการ
A1 : การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยานั้นไม่เหมือนกับการตรวจวิเคราะห์แบบอื่นเนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูบ่มเพาะให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตขึ้นเพื่อให้สามารถนับหรือสังเกตผลได้การวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 วันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และมาตรฐานที่ใช้ตรวจยกเว้นการตรวจด้วยวิธีแบบ Rapid Method จะใช้เวลาเพียง 1 วันและการตรวจหาปริมาณยีสต์และราจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วันซึ่งจะนานกว่าการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเนื่องจากยีสต์และรานั้นเจริญเติบโตช้ากว่าเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคจะมีขั้นตอนในการบ่มให้เชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นประมาณ2-3 วันจึงค่อยนำมาคัดกรองอีกประมาณ 1-3วันและคัดแยกโดยการเพาะเชื้อลงอาหารเลี้ยงเชื้อที่คัดแยกเฉพาะ(Selective media) อีกประมาณ 2-3 วันเพื่อให้ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคหากพบโคโลนีที่น่าสงสัยจะต้องทำการตรวจยืนยัน (Identification) ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอีกประมาณ 3-10 วันจึงจะสามารถรายงานผลว่าพบหรือไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคซึ่งจะเห็นว่าการตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้นใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์โดยรวมประมาณ 8-19 วันขึ้นอยู่กับว่าในขั้นตอนของการคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้นพบเชื้อที่น่าสงสัยหรือไม่ซึ่งหากพบและต้องทำการตรวจยืนยันนั้นจะทำให้การตรวจวิเคราะห์ใช้ระยะเวลานานขึ้น
แต่หากลูกค้าขอรับบริการตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนและหลังฉายรังสีโดยไม่ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้นโดยทั่วไปจะทราบผลเร็วขึ้นประมาณ 10 วันทำการนับจากวันที่ฉายหลังสีหรือนับจากวันที่ส่งตัวอย่างและห้องปฏิบัติการฯมีนโยบายที่จะรีบแจ้งผลและส่งรายงานผลการวิเคราะห์ให้ลูกค้าทราบโดยเร็วอย่างไรก็ตามเพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการที่มีหลากหลายห้องปฏิบัติการฯจึงทำข้อตกลงกับลูกค้าว่าลูกค้าจะทราบผลการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 20 วันทำการนับจากวันที่ฉายรังสีหรือนับจากวันที่ส่งตัวอย่าง
Q2 :สาเหตุใดที่ต้องนับจากวันที่ฉายรังสีหรือนับจากวันที่ส่งตัวอย่าง (ดำเนินการจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว)
A2 : กรณีที่ 1 นับจากวันที่ฉายรังสีเนื่องจากลูกค้าขอตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างหลังฉายรังสีด้วย โดยปกติห้องปฏิบัติการฯจะได้รับตัวอย่างในวันถัดไปหลังจากฉายรังสีแล้วและจากการวิจัยและประสบการณ์ของศูนย์ฉายรังสีพบว่าการตรวจวิเคราะห์ในบางผลิตภัณฑ์จะสามารถทำได้หลังฉายรังสีแล้ว 3 วันเนื่องจากต้องรอให้เชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์มีปริมาณลดลงจนกระทั่งคงที่เสียก่อนดังนั้นจึงเริ่มต้นการนับวันณวันที่สินค้าได้รับการฉายรังสี
กรณีที่2 นับจากวันที่ส่งตัวอย่างเนื่องจากห้องปฏิบัติการจะตรวจตัวอย่างก็ต่อเมื่อลูกค้าได้ดำเนินการจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วตามระเบียบและนโยบายของทางสถาบันฯและในกรณีที่ลูกค้าส่งตัวอย่างล่าช้ากว่าวันที่นัดหมายจะต้องดำเนินการทบทวนขอตกลงเพื่อนัดวันส่งตัวอย่างใหม่อีกครั้งหนึ่ง
Q3: มีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องขอใช้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนและหลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี
A3 : หากท่านไม่ทราบว่าจะต้องใช้ปริมาณรังสีเท่าใดที่จะทำให้ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ลดลงตามที่ท่านต้องการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนฉายรังสีเพื่อใช้สำหรับการกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมและการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณเชื้อจุลินทรีย์มีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์ตามมาตรฐานของสินค้าชนิดนั้นๆทั้งนี้ศูนย์ฉายรังสีมีนโยบายที่จะไม่กำหนดปริมาณรังสีให้หากไม่ทราบผลตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ก่อนฉายรังสีอย่างไรก็ตามท่านสามารถนำผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ก่อนฉายรังสีที่ท่านมีมาให้ศูนย์เพื่อกำหนดปริมาณรังสีได้
การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีกับห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาของศูนย์ฉายรังสีมีข้อดีดังต่อไปนี้
1.เป็นการให้บริการที่เบ็ดเสร็จภายใต้หน่วยงานเดียวกัน
2.มีการกำหนดปริมาณรังสีจากผลการตรวจวิเคราะห์ทางทางจุลชีววิทยาโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีประสบการณ์ด้านการฉายรังสีในผลิตภัณฑ์ต่างๆทำให้ปริมาณรังสีที่ใช้มีความเหมาะสมไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
3.รับประกันผลการฉายรังสีว่าจะสุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์จะมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้หากลูกค้าเป็นผู้กำหนดปริมาณรังสีที่ต้องการเองหรือนำผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ก่อนฉายรังสีมาให้โดยไม่ใช้บริการนี้กับห้องปฏิบัติการฯ ศูนย์ฉายรังสีสงวนสิทธิ์ที่จะรับรองผลเฉพาะปริมาณรังสีที่ผลิตภัณฑ์ได้รับว่าจะไม่น้อยกว่าที่ร้องขอและไม่รับรองผลของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสี
Q4: มีเหตุผลใดที่จะต้องส่งตัวอย่างจำนวน 2 ถุงและคิดค่าบริการเป็น 2 ตัวอย่าง กรณีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนและหลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี
A4 : เนื่องจากห้องปฏิบัติการจะต้องทำการตรวจวิเคราะห์ 2 ครั้งคือครั้งแรกคือตรวจวิเคราะห์ก่อนฉายรังสีและครั้งที่ 2 ตรวจวิเคราะห์หลังฉายรังสีและไม่สามารถใช้ตัวอย่างถุงเดียวกันได้เนื่องจากถุงตัวอย่างถุงที่ 1 ซึ่งเป็นตัวอย่างก่อนฉายรังสีนั้นห้องปฏิบัติการจะต้องมีตัวอย่างเก็บสำรองเอาไว้กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นภายหลังเช่นการร้องเรียนของลูกค้าเป็นต้นดังนั้นลูกค้าจะต้องสุ่มตัวอย่างส่งมาจำนวน 2 ถุงและติดฉลากให้ชัดเจนเช่นชื่อตัวอย่างล็อตการผลิตและต้องระบุว่าตัวอย่างใดจะเป็นตัวอย่างสำหรับตรวจวิเคราะห์ก่อนและหลังฉายรังสี
Q5 :ทำไมลูกค้าจึงต้องทำการสุ่มตัวอย่างเองรวมถึงจะต้องทำการจัดเตรียมตัวอย่างและการจัดเก็บตัวอย่างจะต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม
A5 :เนื่องจากเป็นเกณฑ์ปฏิบัติสากลที่ผู้ส่งตัวอย่างหรือลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการสุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนล็อตการผลิตนั้นๆ รวมถึงการจัดเตรียมและการจัดเก็บตัวอย่างจะต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นภาชนะที่ใส่จะต้องสะอาดปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนรวมถึงมีการควบคุมอุณหภูมิจัดเก็บในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างดังนั้นเพื่อให้การตรวจวิเคราะห์ได้ผลถูกต้องมากที่สุดลูกค้าจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการสุ่มตัวอย่างเองการจัดเตรียมตัวอย่างและการจัดเก็บตัวอย่าง
Q6: เหตุผลใดที่ลูกค้าจะต้องเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีที่ต้องการเองในกรณีที่ต้องการให้ศูนย์ฉายรังสีกำหนดปริมาณรังสีให้ได้ตามจุดประสงค์ที่ท่านต้องการ
A6 : เนื่องจากเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ของท่านศูนย์ฉายรังสีจะไม่ทราบว่ามาตรฐานของสินค้าประเภทต่างๆนั้นมีเกณฑ์ทางด้านจุลชีววิทยาเช่นไรแต่จะสามารถให้คำแนะนำได้ในระดับหนึ่งรวมถึงบางครั้งจะเป็นเกณฑ์ของบริษัทคู่ค้าของท่านหรือเป็นเกณฑ์ของประเทศที่ท่านส่งสินค้าออกไปจำหน่ายดังนั้นท่านจะเป็นผู้ทราบดีที่สุดว่ามาตรฐานของสินค้าท่านจะต้องเป็นเช่นไรอย่างไรก็ตามหากท่านไม่ทราบเกณฑ์หรือมาตรฐานของสินค้าท่านสามารถสืบค้นข้อมูลทางwww.google.com โดยใช้คำว่า “มาตรฐานมอก.” หรือ “มผช.” ตามด้วยชนิดผลิตภัณฑ์เช่นมอก.เครื่องสำอาง, มผช.น้ำพริกเป็นต้น
Q7: มีความจำเป็นหรือไม่ที่ลูกค้าควรจะตรวจเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและจะต้องตรวจเชื้อก่อโรคอะไรบ้าง
A7 : โดยทั่วไปแล้วมาตรฐานจะกำหนดให้มีการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์นั้นๆนอกเหนือจากการตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราทั้งหมดเนื่องจากการที่ผลิตภัณฑ์มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแล้วมิได้หมายความว่ามีความปลอดภัยอย่างแน่นอนเนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคแต่ละชนิดที่แตกต่างกันไปซึ่งมาตรฐานจะกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องตรวจเชื้อก่อโรคชนิดใดบ้างเช่นผลิตภัณฑ์สมุนไพรมักจะปนเปื้อนเชื้อEscherichia coliและClostridium spp.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมักจะปนเปื้อนเชื้อStaphylococcus aureusและPseudomonas aeruginosaเป็นต้น
Q8: ทำไมการสุ่มตัวอย่างและการจัดเตรียมตัวอย่างจึงมีความสำคัญ
A7: เนื่องจากหากท่านทำการสุ่มตัวอย่างไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ตัวอย่างที่สุ่มมาไม่เป็นตัวแทนของล็อตการผลิตนั้นๆอีกทั้งการตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์สิ่งที่มีชีวิตซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนได้ตลอดเวลาดังนั้นขั้นตอนของการสุ่มตัวอย่างจะดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยอาจจะต้องใช้Aseptic technique และบรรจุใส่ภาชนะที่สะอาดปราศจากเชื้อและปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการดำเนินการอีกทั้งหากสินค้ามีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิเฉพาะที่กำหนดตัวอย่างที่สุ่มมาจะต้องเก็บรักษาณอุณหภูมิที่เหมาะสมเช่นกันเพื่อป้องกันการเพิ่มหรือลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างให้ถูกต้องมากที่สุดณเวลาที่ทำการตรวจวิเคราะห์
10.บทความเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากรังสีในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การใช้เทคโนโลยีฉายรังสีในผลิตภัณฑ์แป้งผัดหน้า
การใช้เทคโนโลยีฉายรังสีในผลิตภัณฑ์แป้งผัดพอกหน้าและแป้งขัดตัว
การใช้เทคโนโลยีฉายรังสีในดินสอพอง
การใช้เทคโนโลยีฉายรังสีในน้ำพริกนรกและอื่นๆ
11.Download documents
แบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54)
ใบคำขอรับรายงานผลการวิเคราะห์ฉบับเก่า (FM-IC-65)
อัตราค่าบริการของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
มาตรฐานการปฏิบัติงาน