ศูนย์ฉายรังสี

งานบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา

งานบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา

ศูนย์ฉายรังสีสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติมีห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและเครื่องมือในการให้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดและการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคชนิดอื่นๆแก่ผู้ที่มาขอใช้บริการฉายรังสีและสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ (ที่ไม่ต้องใช้บริการการฉายรังสี) โดยใช้ระยะดำเนินการทราบผลและออกรายงานผลการวิเคราะห์ประมาณ 20 วันทำการ (อาจจะได้ผลเร็วกว่า 20 วันทำการหากผลการตรวจวิเคราะห์เสร็จก่อน)


ประเภทของการให้บริการ

1.การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนฉายรังสีเพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมและการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณเชื้อจุลินทรีย์มีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสินค้าชนิดนั้นๆ

2.การตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคที่สำคัญๆในผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพรเครื่องสำอางเช่นStaphylococcus aureus, Escherichia coli, Clostridium spp., Pseudomonas aeruginosa, Bacillus cereus. Salmonella spp.เป็นต้น

3.การตรวจวิเคราะห์หาPresumptive taint producing Alicyclobacillus โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ IFU Method on the Detection of taint producing Alicyclobacillus in Fruit Juices. (IFU Method No.12)  

4.การจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®2 Systems ของบริษัท bioMérieux, Inc.โดยรายงานผลเป็นชื่อวิทยาศาสตร์และเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นที่จะเป็นเชื้อชนิดนั้น

5.การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาอื่นๆตามวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ลูกค้าต้องการ

 

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองISO/IEC17025:2017

         ปัจจุบันศูนย์ฉายรังสีได้รับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาตามระบบมาตรฐานISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุขใบรับรองเลขที่ 1234/56 โดยขอบข่ายที่ได้รับการรับรองมีรายละเอียดดังนี้


หมายเหตุ : อาหาร*หมายถึง

1. เนื้อสัตว์เเละผลิตภัณฑ์ (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

2. สัตว์ปีกเเละผลิตภัณฑ์  (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

3. สัตว์น้ำเเละผลิตภัณฑ์  (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

4. ผักเเละผลิตภัณฑ์  (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

5. ผลไม้เเละผลิตภัณฑ์  (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

6. ธัญพืชเเละผลิตภัณฑ์  (สด เเช่เย็น เเช่เเข็ง ผ่านกรรมวิธี)

7. ไข่เเละผลิตภัณฑ์            

8. สาหร่ายเเละผลิตภัณฑ์          

9. เครื่องเทศ สมุนไพร เเละเครื่องปรุง  

10. แป้งและผลิตภัณฑ์

11. ช็อกโกเเล็ต

12. ขนมอบ

13. น้ำสลัดเเละมายองเนส  

                  

1.การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี

เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาขอรับบริการฉายรังสีเพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์นั้นมักจะไม่ทราบว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์มากน้อยเท่าใดและต้องใช้ปริมาณรังสีมากน้อยขนาดไหนที่จะทำให้ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ลงได้ตามที่ต้องการหรือตามที่มาตรฐานสินค้าชนิดนั้นๆกำหนดศูนย์ฉายรังสีจึงอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าโดยการเปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อนฉายรังสีเพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมและการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำกว่าเกณฑ์ของมาตรฐานของสินค้าชนิดนั้นๆ

ข้อดีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีกับห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาของศูนย์ฉายรังสีมีดังต่อไปนี้

  1. เป็นการให้บริการที่เบ็ดเสร็จภายใต้หน่วยงานเดียวกัน
  2. มีการกำหนดปริมาณรังสีจากผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีประสบการณ์ด้านการฉายรังสีในผลิตภัณฑ์ต่างๆทำให้ปริมาณรังสีที่ใช้เหมาะสมและไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
  3. รับประกันผลการฉายรังสีว่าจะสุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์จะมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีตามที่ลูกค้าต้องการ (หมายเหตุ หากลูกค้ากำหนดปริมาณรังสีที่ต้องการเองในใบคำขอรับบริการฉายรังสีโดยไม่ใช้บริการนี้กับห้องปฏิบัติการฯ  ศูนย์ฉายรังสีจะรับรองเฉพาะปริมาณรังสีที่ผลิตภัณฑ์ได้รับว่าไม่น้อยกว่าที่ลูกค้าร้องขอเท่านั้นแต่ไม่รับรองผลของการฉายรังสีว่าได้ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดหลังฉายรังสีตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้รวมถึงกรณีที่ท่านนำผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ก่อนฉายรังสีจากห้องปฏิบัติการอื่นๆมาให้ศูนย์ฉายรังสีกำหนดปริมาณรังสีให้)

ข้อจำกัด

เนื่องจากมีกระบวนการขั้นตอนมากและเป็นการตรวจวิเคราะห์ทางด้านจุลชีววิทยาซึ่งต้องการระยะเวลาเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต  จึงทำให้ใช้ระยะเวลาพอสมควรในการดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์อย่างน้อยที่สุดคือประมาณ 20 วันและสูงสุดคือ 39 วันนับจากวันที่ส่งตัวอย่างให้แก่ศูนย์ฉายรังสีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่เจอหรือประมาณ 20 วันทำการนับจากวันที่สินค้าได้ฉายรังสีโดยแต่ละขั้นตอนมีระยะเวลาและข้อจำกัดตามตารางด้านล่าง

ขั้นตอน ที่รายละเอียดระยะเวลาดำเนินการข้อจำกัด
1.

ตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในตัวอย่างก่อนฉายรังสี  

1-5 วัน

ขึ้นกับวิธีการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้บางวิธีใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์นาน
 ตรวจหาปริมาณยีสต์และราในตัวอย่างก่อนฉายรังสี  

5-7 วัน

 
2.กำหนดวันฉายรังสี1-14 วันขึ้นกับปริมาณรังสีที่จะใช้ ตารางการฉายณเวลานั้นๆ หรือสินค้ามีปริมาณน้อยจะต้องฉายรรังสีรอบSMEs ซึ่งจะมีเฉพาะสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
3.การทิ้งระยะเวลาก่อนตรวจตัวอย่างหลังฉายรังสี(โดยเฉพาะสินค้าประเภทสมุนไพรเครื่องสำอาง)3 วันเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ได้ลดจำนวนลงไปในระดับที่คงที่แล้วจึงค่อยทำการตรวจวิเคราะห์
4.

ตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดในตัวอย่างหลังฉายรังสี  

1-5 วัน

ขึ้นกับวิธีการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้บางวิธีใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์นาน
5.ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในตัวอย่างหลังฉายรังสี  

10 วัน

(เพิ่มเติมจากข้อ 4.)

หากลูกค้าต้องการตรวจเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์จะเพิ่มขึ้นไปด้วย

 

           ดังนั้นผู้ประกอบการ/ลูกค้าจะต้องเผื่อเวลาในการดำเนินการให้แก่ศูนย์ฉายรังสีเพื่อจะได้ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพอย่างดีที่สุด

ทั้งนี้ศูนย์ฉายรังสีจะมีการติอต่อแจ้งลูกค้าได้รับทราบว่าได้ดำเนินการถึงขั้นตอนใดเป็นระยะๆจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฉายรังสี 

 

2.ขั้นตอนการขอรับบริการตรวจวิเคราะห์

1.กรอกแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา(FM-IC-54)

                ข้อควรระวัง

               1.1 หากท่านต้องการขอใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาเป็นภาษาอังกฤษชื่อที่อยู่และชื่อตัวอย่างลักษณะตัวอย่างจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษมาด้วย

               1.2 ลูกค้าควรตรวจสอบตัวสะกดของชื่อที่อยู่ชื่อตัวอย่างและลักษณะตัวอย่างให้ถูกต้องเนื่องจากศูนย์ฉายรังสีจะออกใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาตามที่ลูกค้าแจ้งมา

                 1.3 ส่งเอกสารแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54 ) ให้ศูนย์ฉายรังสีโดยสามารถส่งได้หลายวิธีเช่นทาง FAX ที่เบอร์ 02-5771945, E-mail:tic.tint@hotmail.comหรือมาส่งใบคำขอรับบริการด้วยตนเอง

( ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54) คลิ๊กที่นี่)

                

2.ศูนย์ฉายรังสีออกใบแจ้งหนี้, ใบยืนยันการให้บริการเพื่อแจ้งวันส่งตัวอย่างและวันที่ได้รับผลการวิเคราะห์

ส่งให้ลูกค้าโดยเมื่อลูกค้าได้รับแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าบริการแล้วส่งหลักฐานกลับมาหรือนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงในวันส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์

3.จัดส่งตัวอย่างให้แก่ศูนย์ฉายรังสี 37 หมู่ 3 เทคโนธานีต.คลองห้าอ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี 12120

(วิธีการเตรียมและส่งตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาคลิ๊กที่นี่)

4.ระยะเวลาการให้บริการ

4.1 กรณีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสี

    ทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 20 วันทำการนับแต่วันที่สินค้าได้รับการฉายรังสี

4.2 กรณีสินค้าทั่วไปอื่นๆ

    ทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 20 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับตัวอย่างและนับจากวันที่ชำระค่าบริการแล้ว (เว้นแต่จะตกลงกับลูกค้าเฉพาะราย)

(Q/A ทำไมถึงต้องใช้เวลาตรวจถึง 20 วันทำการคลิ๊กที่นี่)

(Q/A ทำไมถึงต้องนับแต่วันที่สินค้าได้รับการฉายรังสีหรือนับแต่วันที่ได้รับตัวอย่างและนับจากวันที่ชำระค่าบริการแล้วคลิ๊กที่นี่)

 

3.วิธีการจัดส่งตัวอย่างที่ถูกต้อง

ลูกค้าจัดส่งตัวอย่างตามวันที่ทางศูนย์ฉายรังสีแจ้งโดยลูกค้าจะต้อง

1.ลูกค้าจะเป็นผู้สุ่มตัวอย่างเอง

2.น้ำหนักของสินค้าตัวอย่าง

2.1 กรณีที่ตัวอย่างเป็น อาหาร ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 400 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น

2.2 กรณีที่ตัวอย่างเป็น เครื่องสำอาง ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 50 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น

2.3 กรณีที่ตัวอย่างเป็น สมุนไพร ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 200 กรัมต่อ 1 ตัวอย่างเท่านั้น

2.4 กรณีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้ส่งตัวอย่างที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 150 กรัมต่อ 1 ตัวอย่าง

2.5 กรณีที่ไม่สามารถจัดส่งได้ตามที่ระบุในข้อ 2.1-2.4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่ายตรวจวิเคราะห์/ผู้จัดการวิชาการ

3.ตัวอย่างจะต้องใส่ภาชนะหรือถุงปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนภายหลัง

4.ตัวอย่างจะต้องติดฉลากชัดเจนมีชื่อผลิตภัณฑ์ล็อตการผลิตตรงตามที่ระบุมาในแบบฟอร์มใบคำขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา (FM-IC-54)

5.ควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวอย่างเช่น

5.1 กรณีสินค้าที่ต้องเก็บในสภาวะแช่เย็น(Chill) ควรบรรจุในกล่องที่สามารถเก็บความเย็นได้โดยมีน้ำแข็งหรือ ice pack ในการช่วยรักษาอุณหภูมิของตัวอย่าง

5.2 กรณีสินค้าที่ต้องเก็บในสภาวะแช่แข็ง (Frozen) ควรบรรจุในกล่องที่สามารถเก็บความเย็นได้โดยลักษณะของตัวอย่างที่จัดส่งจะต้องอยู่ในสภาพที่เป็นของแข็งไม่ละลาย

6.กรณีการขอรับบริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดก่อน/หลังฉายรังสีร่วมกับการบริการฉายรังสีจะถือว่าคือ2 ตัวอย่างจะต้องทำการสุ่มตัวอย่างใส่ถุงมา 2 ถุงคือถุงที่ 1 ติดฉลากชื่อผลิตภัณฑ์และระบุว่าเป็น “ก่อนฉายรังสี”  และถุงที่ 2 ติดฉลากชื่อผลิตภัณฑ์และระบุว่าเป็น “หลังฉายรังสี”    

7.หากลูกค้ามีความต้องการส่งตัวอย่างที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของปฏิบัติการให้หัวหน้าฝ่ายตรวจวิเคราะห์/ผู้จัดการวิชาการเป็นผู้พิจารณาโดยต้องคำนึงถึงว่าไม่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของผลการตรวจวิเคราะห์และทางห้องปฏิบัติการฯมีนโยบายจะไม่คืนตัวอย่างให้แก่ลูกค้า

8.ทางห้องปฏิบัติการฯมีนโยบายจะไม่คืนตัวอย่างให้แก่ลูกค้า

(Q/A ทำไมการสุ่มตัวอย่างและการจัดเตรียมตัวอย่างจึงมีความสำคัญ คลิ๊กที่นี่)

 

4.วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยานำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์

1. วัตถุดิบสมุนไพร
รายการตรวจวิเคราะห์วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์
Total Plate Count*FDA BAM, Chapter 3โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Yeast & Mold CountUSP38:2015 Chapter 62โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Coliform & Escherichia coli CountAOAC 2005.03โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Enterobacteria

In house method by Simplate®

Enterobacteriaceae

โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Staphylococcus aureusUSP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Pseudomonas aeruginosaUSP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Salmonella spp.USP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร
Clostridium spp.USP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร
Bile tolerant gram negative bacteriaUSP Chapter 62Probable Number of Bacteria per g or ml of Product
Total Anaerobic Plate CountCompendium of method Chapter 23โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
2. ยาสมุนไพร เช่น ยาแคปซูล ยาอัดเม็ด ยาทา ยาน้ำ
รายการตรวจวิเคราะห์วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์
Total Plate CountUSP Chapter 61โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Yeast & Mold CountUSP Chapter 62โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Escherichia coliUSP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Staphylococcus aureusUSP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Pseudomonas aeruginosaUSP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Salmonella spp.USP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร
Clostridium spp.USP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 10 กรัม/มิลลิลิตร
Bile tolerant gram negative bacteriaUSP Chapter 62โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Anaerobic Plate CountCompendium of method Chapter 23โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
3. เครื่องสำอาง
รายการตรวจวิเคราะห์วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์
Total Plate CountFDA BAM, Chapter 23โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Yeast & Mold CountFDA BAM, Chapter 23โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Escherichia coliISO21150พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Staphylococcus aureusISO22718พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Pseudomonas aeruginosaISO22717พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
Clostridium spp.USP Chapter 62พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม/มิลลิลิตร
4. อาหาร
รายการตรวจวิเคราะห์วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์
Total Plate CountFDA BAM, Chapter 3โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Yeast & Mold CountFDA BAM, Chapter 18โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Total Coliform & Escherichia coli CountAOAC 2005.03โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Staphylococcus aureusFDA BAM, Chapter 12โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
AOAC 2003.11โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
In house method by DMSc F 2006พบ/ไม่พบต่อ 0.1 กรัม/มิลลิลิตร
Bacillus cereusFDA BAM, Chapter 14โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Clostridium perfringensFDA BAM, Chapter 16โคโลนีต่อกรัม/มิลลิลิตร
Salmonella spp.FDA BAM, Chapter 5พบ/ไม่พบต่อ 25 กรัม/มิลลิลิตร
5. น้ำผลไม้เข้มข้น
รายการตรวจวิเคราะห์วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจวิเคราะห์
Presumptive taint producing AlicyclobacillusIFU Method on the Detection of taint producing Alicyclobacillus in Fruit Juices. (IFU Method No.12)

โคโลนีต่อ 0.1กรัมหรือ

โคโลนีต่อ 0.01กรัม

พบ/ไม่พบต่อ 1 กรัม

 

 

5.การให้บริการจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®Systems

เครื่อง Vitek ®2 systemคือเครื่องที่ใช้ในการตรวจยืนยันชนิดของแบคทีเรียโดยใช้หลักการทดสอบทางชีวเคมีซึ่งเครื่องจะอ่านผลจากการ์ดและเทียบกับฐานข้อมูลที่อยู่ในเครื่องว่าผลทางชีวเคมีตรงกับแบคทีเรียชนิดใดโดยจำแนกออกมาเป็น Genus species และยืนยันผลเป็นเปอร์เซ็นต์ซึ่งจะต้องมีการเลือกใช้การ์ดตามกลุ่มของแบคทีเรียที่ต้องการยืนยันโดยมีการ์ดทั้งหมด 4 ชนิดคือ

1. GN Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์แกรมลบ (Gram negative) เช่นEscherichia coli, Escherichia vulneris, Klebsiella oxytoca, Salmonella group, Pseudomonas aeruginosa, Vibrio cholera เป็นต้น

2. GP Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์แกรมบวก (Gram positive) เช่นListeria monocytogenes, Enterococcus spp., Staphylococcus aureus, Streptococcus spp.เป็นต้น

3. BCL Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Bacilli เช่นGeobacillus stearothermophilus, Brevibacillus choshinensis, Bacillus subtilis, Bacillus amyloliquefaciens, Bacillus atrophaeus เป็นต้น

4. ANC Card ใช้ตรวจยืนยันชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Anaerobic เช่นClostridiumperfringens, Clostridium sporogenes, Lactobacillus acidophilus เป็นต้น


ตารางการรายงานผลเป็นเปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่น(% Probability)

ระดับความเชื่อมั่น% ความเชื่อมั่น
ดีเยี่ยม96 to 99
ดีมาก93 to 95
ดี89 to 92
ไม่ยอมรับ85 to 88
Low discrimination or slashlineมีเชื้อ2 หรือ 3 ชนิดที่เป็นไปได้จะต้องใช้การทดสอบอื่นเพิ่มเติมเพื่อแยกชนิด
Non - identifiedมีเชื้อ>3 ชนิดที่เป็นไปได้หรือเชื้อที่ทดสอบมีลักษณะที่แตกต่างจากฐานข้อมูลของเครื่องมากจนไม่สามารถแยกชนิดได้

 

ขั้นตอนการจัดส่งตัวอย่างสำหรับตรวจจำแนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์โดยเครื่องVITEK®2 Systems

1.ดำเนินการเขี่ยเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการลงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็นชนิดnonselective agar และเลี้ยงให้เจริญในสภาวะที่เหมาะสมจนกระทั่งเชื้อจุลินทรีย์เจริญได้โคโลนีเดี่ยว (Single Colony)